วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

อนุสรณ์สถาน 17 ทหารกล้า(ฐานปฏิบัติการบ้านห้วยโก๋นเก่า)


ประวัติความเป็นมา
            บ้านห้วยโก๋นในอดีต  หมู่บ้านเล็กๆท่ามกลางขุนเขาลำเนาไพรพฤกษ์ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ใกล้ชายแดนไทยลาว ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาจะไม่มีความหมายและไม่เป็นอะไรที่น่าสนใจสำหรับคนทั่วไป สามารถติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียงด้วยการเดินเท้าที่ลัดเลาะไปตามป่าเขายังไม่มียานพาหนะทางบกใดๆเข้าไปถึง  รอรับความเจริญและติดต่อกับโลกภายนอกด้วยเส้นทางสายพระราชประสงค์เลียบชายแดนจากอำเภอปัว-บ้านน้ำยาว-บ้านห้วยลักลาย – บ้านผักเฮือก - บ้านบ่อเกลือใต้  - บ้านบ่อเกลือเหนือ - บ้านบวกหญ้า - บ้านง่อมเปา - บ้านห้วยโก๋น - บ้านปิน – บ้านปางหก – บ้านน้ำเลียง - อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน


พื้นที่ปฏิบัติการ
ฤดูร้อน  เริ่มจากเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อากาศร้อนอบอ้าว อุณหภูมิสูงสุด เฉลี่ย 36 องศา ฤดูฝน เริ่มจากเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน เป็นระยะที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้นำฝนเข้ามาตก ฝนเริมตกชุกประมาณกลางเดือนพฤษภาคม  ถึงเดือนมิถุนายน  และฝนตกชุกมากที่สุดอยู่ในระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน  ฤดูหนาว  ตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์  อากาศจะเย็นที่สุดระหว่างเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคม

พืชพันธุ์ไม้ พืชพันธุ์ต่างๆในพื้นที่แบ่งได้ประเภท 3 ประเภท ประเภทได้แก่ 
1. ป่าทึบ
2.ป่าโปร่ง
3. พื้นที่เพาะปลูก

ลักษณะผิวดิน
ตามพื้นที่ราบจะเป็นดินปนทรายพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลูกรังสามารถรับน้ำหนักยานพาหนะประเภทยานล้อและสายพานได้  ส่วนในป่าจะเป็นดินเป็นแบบใบไม้ทับถม ทำให้พื้นดินอ่อน

ลักษณะหมู่บ้าน
เป็นหนึ่งหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติอยู่ห่างจากชายแดนไทย-ลาว ประมาณ 5 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นไทลื้อ  ซึ่งประชากรเหล่านี้ส่วนมากติดต่อกับเมืองเงินในราชอาณาจักรลาว เนื่องจากมีเส้นทางติดต่อกันได้สะดวก การติดต่อกับหมู่บ้านต่างๆในเขตไทยเป็นไปอย่างลำบากมาก เพราะไม่มีเส้นทางคมนาคม เส้นทางที่มีอยู่ก็ผ่านภูเขาสูงชันและป่าทึบ ช่องทางติดต่อกับประเทศข้างเคียงชายแดน มีหลายช่องทางแต่ที่เข้าสู่หมู่บ้านห้วยโก๋นได้  มีดังนี้
ก.    ช่องกิ่วไม้แป้น  เป็นเส้นทางเข้าบ้านสบปืน  แต่มีทางแยกเข้าบ้านห้วยโก๋นได้
ข.    ช่องดงข่อย  เป็นเส้นทางจากบ้านดีหมีและเมืองเงินในเขตลาว  เข้าสู่หมู่บ้านห้วยโก๋นระยะทางห่างจากชายแดนประมา  5  กิโลเมตร
             ค. ช่อบ้านหนานคำ จากชายแดน มีทางแยกเข้าบ้านห้วยโก๋น  ประมาณ 7  กิโลเมตร



ความสำคัญของบ้านห้วยโก๋น
จะเห็นได้ว่าบ้านห้วยโก๋นเป็นจุดคมนาคมหนึ่งในบริเวณนี้ ซึ่งถ้าฝ่ายตรงข้ามใช้เป็นเส้นทางแทรกซึมและส่งกำลังออกจากภายนอกประเภทด้วยเหตุนี้ จึงมีกองกำลังทหารจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการขนาด 1 หมวด เพิ่มเติมกำลังขึ้นตั้งแต่ เดือนตุลาคม  2514  เพื่อสกัดเส้นทางแทรกซึมและส่งกำลังจากภายนอกประเทศ เพื่อคุ้มครองราษฎรบ้านห้วยโก๋นและปฏิบัติการจิตวิทยา และคุ้มครองสายพระราชประสงค์ดังที่ได้กล่าวมาแง่คิดเกี่ยวกับพื้นที่ (เฉพาะพื้นที่บริเวณบ้านห้วยโก๋น)
        1. การตรวจการและพื้นที่ยิง เนื่องจากเป็นฐานปฏิบัติการขนาดเล็ก  ตั้งอยู่บนเนินเตี้ยๆห่างจากหมู่บานไปทางทิศตะวันตกประมาณ  500 เมตร
        2. ภูมิประเทศสำคัญ
        3. เครื่องกีดขวาง
        4. การกำบังและการซ่อนพราง
               5. เส้นทางเข้า


สถานการณ์พื้นที่บ้านห้วยโก๋น เมื่อปี 2518
บ้านห้วยโก๋นมี จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 51 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 273 คน  เป็นชนเผ่าลื้อและเผ่าขมุ แยกเป็น 2 หมู่คือ  หมู่ 1 และหมู่ 6 มี นายกล่ำ  หอมดอก และ นายผ่อง สุทธิโวหาร  เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ขณะนั้นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้ยกระดับการจัดตั้งเป็นคณะกรรมการ  ระดับจังหวัด  แบ่งเขตปฏิบัติการออกเป็น 6 เขต เทียบเท่าคณะกรรมการระดับอำเภอพื้นที่ตอนเหนือ  เป็นเขตงานที่ 1 (ผาแดง) มีกองร้อย 301 ประจำอยู่ ที่ดอยผาแดงเทือกเขาภูแว และกองร้อย 301 อยู่ที่ขุนน้ำตวง เขตงานที่ 4 (น้ำช้าง)
ขณะนั้น ในส่วนของกองกำลังทหารม้ารับผิดชอบมี พลตรีแสวง จามรจันทร์ เป็นผู้บังคับบัญชาจัดกำลังจากกองพลทหารม้าและหน่วยขึ้นตรงและมีกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์จัดกำลังมาช่วยเรียกนามหน่วยว่า กองพลทหารม้าส่วนหน้า ในพื้นที่อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน กำหนดให้กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ซึ่งมี พันโทวิชิต รัตนกุล และ พันตรีนิพันธ์ ภารัญนิตย์ ร้อยเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ และนายทหารยุทธการตามลำดับ  โดยใช้นามหน่วยว่า กองพันทหารราบที่ 212 และกำหนดให้กองร้อยอาวุธเบา                 ที่ 3 ซึ่งมี ร้อยโทสำราญ  สายพิน เป็นผู้บังคับกองร้อย และหมวดปืนเล็กที่ 3 ตั้งฐานอยู่ที่กิโลเมตรที่ 21
-   หมวดปืนเล็กที่ 2 ตั้งฐานอยู่ที่บ้านสบปืน
-   หมวดปืนเล็กที่ 1 ตั้งฐานอยู่ที่บ้านห้วยโก๋น
            โดยมีร้อยตรีพงษ์ศักดิ์ ขันธวิธิ  เป็นผู้บังคับฐาน  การตั้งฐานปฏิบัติการห้วยโก๋น มุ่งเน้นที่จะสกัดกั้นเส้นทางการส่งเสบียงอาหาร และยุทโธปกรณ์ และการแทรกซึมของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่จะมาจากนอกประเทศ  คุ้มครองประชาชนบ้านห้วยโก๋น ด้วยการช่วยเหลือปฏิบัติการทางจิตวิทยา งานการข่าว และยุทธการเตรียมให้การสนับสนุนการสร้างทางตามพระราชดำริ


เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
สถานการณ์เริ่มแรก
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2517 กองพันทหารราบที่ 212 กองพลทหารม้าส่วนหน้าได้ดำเนินการ ซักถามนายผาย  ศรีวิชัย  ซึ่งเคยเป็นทหารลาว  และเป็นผู้ทำงานการข่าวให้กับเรามาเป็นเวลานาน  ได้ถูกผู้ก่อการร้ายจับตัวไปอบรมเป็นเวลายาวนาน ถึง 80 วัน  แล้วก็ส่งตัวกลับคืนมา เมื่อวันที่ 4  ตุลาคม 2514  ได้ทราบข่าวว่านายผายได้แจ้งความลับบนฐานปฏิบัติการห้วยโก๋นให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ทราบทั้งหมด  ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้ยืนยันว่าจะเข้าตีฐานปฏิบัติการห้วยโก๋นแน่นอน  ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 212 กองพลทหารม้าส่วนหน้าจึงออกคำสั่ง แผนยุทธการเพื่อแนะนำวิธีการแก้ไขทางยุทธการ  และปลุกปลอบให้มีกำลังใจสู้รบทั้งสนับสนุนวัตถุระเบิดตามที่ ผู้บังคับฐานปฏิบัติการบ้านห้วยโก๋นขอมา

สถานการณ์ต่อมา
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2518 เวลาใกล้ค่ำขณะที่พนักงานวิทยุที่ฐานปฏิบัติการบ้านห้วยโก๋น กำลังใช้วิทยุติดต่อกับหน่วยต่างๆตามปกติอยู่นั้น ได้มีสถานีวิทยุอื่นสัญญาณเรียกขานว่าทอง สำเนียงพูดเป็นคนไทย ได้ขอพูดด้วยและแจ้งว่าตนอยู่ห่างจากฐานปฏิบัติการห้วยโก๋น ประมาณภูเขา 6 ลูก และได้แจ้งทราบว่า ขณะนั้นผู้บังคับบัญชาของตนได้เตรียมกำลังไว้จะเข้าตีฐานปฏิบัติการ บ้านห้วยโก๋น  ตนมีความห่วงใยจึงแจ้งให้ทราบ หลังจากวันที่ 23 มีนาคม 2518  สถานีวิทยุแห่งนี้ได้ได้ลักลอบผู้บังคับบัญชาของตนใช้วิทยุของตนพูดคุยกับพนักงานวิทยุ ประจำฐานบ้านห้วยโก๋นเป็นประจำซึ่ง กองพันทหารม้าส่วนหน้า ได้บันทึกคำพูดติดต่อด้วยเครื่องบันทึกเสียงไว้
วันที่  8 เมษายน  2518  ร้อยโทสำราญ  สายพิณ ผู้บังคับกองร้อยสั่งการให้                           ร้อยตรีอุดม วิทยะเมธาคินทร์ ผู้บังคับหมวดปืนเล็กที่ 3 นำกำลังพล 16 นายจากฐานปฏิบัติการกิโลเมตรที่ 21 ร้อยตรีกำพล แจ่มมั่น จากฐานปฏิบัติการ้านสบปืน จำนวน 14นาย ปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนในพื้นที่รับผิดชอบของกองร้อยโดยมุ่งไปยังฐานห้วยโก๋นทั้ง 2 ชุดลาดตระเวนและพักแรมที่รวมพลฐานปฏิบัติการบ้านห้วยโก๋น  ซึ่งในขณะนั้นกำลังพลของฐานปฏิบัติการบ้านห้วยโก๋น มีจำนวน 39 นาย เมื่อชุดลาดตระเวนมาสมทบอีก 30 นาย รวมเป็น  69 นาย
วันที่  9  เมษายน 2518  ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์จำนวนประมาณ 200 นายเข้ามาวางกำลังเตรียมเข้าตีฐานปฏิบัติการบ้านห้วยโก๋น  โดยแบ่งกำลังส่วนหนึ่งร่วมกับชาวบ้านบางคนรุกเข้ามาทางท้ายหมู่บ้านด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของฐานปฏิบัติการเป็นส่วนกำลังเข้าตีหลัก  อาศัยความมืดแทรกซึมซ่อนเร้นเข้ามาวางตัวติดกับฐาน  ส่วนที่เหลือวางตัวยิงสนับสนุนจากเนินและพื้นที่ทาง  ทิศใต้  ทิศตะวันตก  และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของฐานและตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 60  มิลลิเมตร บริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของฐานเวลาประมาณ 04.50 น.ของวันที่ 7 เมษายน 2518 กำลังส่วนเข่าตีหลักที่มาวางตัวติดฐานได้สะดุดพลุส่องสว่างที่ฝ่ายเราได้วางไว้ป้องกัน  ทันใดนั้นได้เปิดฉากระดมยิงด้วยอาวุธหนัก  ได้แก่  เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 61 มม.เครื่องยิงจรวด อาร์พีจี  ตลอดจนปืนเล็กยาวเค 47 ระดมยิงใส่เข้าฐานอย่างหนัก  ขณะที่กำลังสู้รบกันอย่างดุเดือดนั้น มีกำลังพลสำคัญที่เป็นผู้บังคับบัญชาเสียชีวิตด้วยอาวุธจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้แก่ ร้อยตรีพงษ์ศักดิ์ ร้อยตรีอุดม วิทยะเมธาคินทร์ เมื่อการสู้รบดุเดือดถึงที่สุด

3. กิจกรรมที่ให้บริการ องค์ความรู้ ความชำนาญ   กระบวนการจัดการเรียนรู้
3.1 นิทรรศการทางประวัติศาสตร์เหตุการณ์สู้รบในอดีต
                - ภาพถ่ายสภาพรถยนต์และเฮลิคอปเตอร์ที่ถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์โจมตี
                - การปรับปรุงฐานปฏิบัติการบ้านห้วยโก๋นภายหลังการสู้รบสงบลง
                - อาวุธปืนและวัตถุระเบิดที่ยึดได้จากการสู้รบ
                - ทหารกล้าที่สูญเสียชีวิต
                - ทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากการลอบวางระเบิดของฝ่ายคอมมิวนิสต์
                - การกู้วัตถุระเบิดที่หลงเหลือจากเหตุการณ์สู้รบ
3.2 ให้บริการห้องบรรยายสรุปจัดแสดงแบบจำลองสภาพภูมิประเทศ
3.3 บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด
3.4 แสดงนิทรรศการเสื้อผ้าของทหารที่เสียชีวิตในเหตุการณ์
3.5 แสดงอาวุธปืน วัตถุระเบิด
3.6 ให้บริการเป็นแหล่งท่องเที่ยวพร้อมที่พักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
3.7 เป็นสถานที่ตั้งอนุสรณ์สถานสำคัญทางประวัติศาสตร์
               

ปัจจุบันทางกองพลทหารม้าที่1ได้ปรับปรุงรักษาสภาพฐานปฏิบัติการแห่งนี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ซึ่งมีสภาพใกล้ของเดิมมากที่สุด ตัวฐานปฏิบัติการตั้งอยู่บนยอดเนินอันเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม รอบๆเนินโอบล้อมด้วยขุนเขาน้อยใหญ่ ฐานปฏิบัติการประกอบด้วย ที่บังคับหมวด  ที่พักกำลังพล  บังเกอร์ที่ตั้งกระสุนเอ็ม 600 คลังกระสุน  ซึ่งทั้งหมดขุดลึกลงไปใต้ดิน มีหลังคาสูงกว่าระดับพื้นดินเล็กน้อย หลังคาทำด้วยท่อนไม้ทับด้วยกระสอบทรายแน่นหนา ข้างๆพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งมีห้องบรรยายสรุปเป็นอาคารชั้นเดียว ภายในจัดแสดงแบบจำลองสภาพภูมิประเทศของพื้นที่  ภาพถ่าย เสื้อผ้าของทหารที่เสียชีวิต ในเหตุการณ์ อาวุธปืน  วัตถุระเบิด แบบต่างๆและมีคำบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด  บริเวณฐานปฏิบัติการยังรักษาสภาพเดิมไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา  และปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว  มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์  การต่อสู้ของลัทธิการปกครองที่แตกต่างกัน  ภายในฐานยังมีบริการบ้านพักนักท่องเที่ยวซึ่งติดต่อได้ที่กองพันทหารราบ               ที่ 15 หรือหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานจู่โจม ค่ายสุริยะพงษ์

4. สถานที่ตั้ง 
         บ้านห้วยโก๋น  หมู่ที่  1 ตำบลห้วยโก๋น  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ   จังหวัดน่าน

5. วันเวลา  ที่ให้บริการ 
08.30-20.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ

6. ค่าใช้จ่ายในการรับบริการ   
ค่าที่พักสำหรับค้างแรม ต่อคืน    100-200   บาท


7. สิ่งที่น่าสนในการศึกษา/เรียนรู้
7.1 นิทรรศการทางประวัติศาสตร์เหตุการณ์สู้รบในอดีต
                - ภาพถ่ายสภาพรถยนต์และเฮลิคอปเตอร์ที่ถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์โจมตี
                - การปรับปรุงฐานปฏิบัติการบ้านห้วยโก๋นภายหลังการสู้รบสงบลง
              - อาวุธปืนและวัตถุระเบิดที่ยึดได้จากการสู้รบ
                - ทหารกล้าที่สูญเสียชีวิต
                - ทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากการลอบวางระเบิดของฝ่ายคอมมิวนิสต์
                - การกู้วัตถุระเบิดที่หลงเหลือจากเหตุการณ์สู้รบ
7.2 ให้บริการห้องบรรยายสรุปจัดแสดงแบบจำลองสภาพภูมิประเทศ
7.3 บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด
7.4 แสดงนิทรรศการเสื้อผ้าของทหารที่เสียชีวิตในเหตุการณ์
7.5  แสดงอาวุธปืน  วัตถุระเบิด
7.6 ให้บริการเป็นแหล่งท่องเที่ยวพร้อมที่พักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
7.7 เป็นสถานที่ตั้งอนุสรณ์สถานสำคัญทางประวัติศาสตร์
7.8  สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ร่มรื่นสวยงาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วันที่ 17 มีนาคม 2563  ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านสะจุก จัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบอบรม หลักสูตร โครงการส่งเสริมป...