วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

อนุสรณ์สถานภูพยัคฆ์

อนุสรณ์สถานภูพยัคฆ์


2.สถานที่ตั้ง    
         หมู่  12 บ้านน้ำรีพัฒนา   ตำบลขุนน่าน  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน

3.ประวัติความเป็นมา
แนวคิดในการจัดสร้างอนุสรณ์สถานภูพยัคฆ์ 
        อนุสรณ์สถานภูพยัคฆ์มีภารกิจหลักในเรื่องการยกย่องเชิดชูผู้ที่อุทิศตนต่อสู้เพื่อสิทธิ  เสรีภาพ  ประชาธิปไตย  ความเป็นธรรมและประโยชน์สุขของผองชน  เป็นการเปิดที่ยืนในทา  ประวัติศาสตร์ให้กับท่านผู้เสียสละเหล่านั้น  อนุสรณ์สถานภูพยัคฆ์  สร้างเสร็จด้วยความร่วมมือร่วม   ใจจากบุคคลหลายฝ่าย  ไม่ว่าจะเป็น  พี่น้องประชาชนคนลัวะ  คนม้งในพื้นที่  กลุ่มเพื่อนพ้องพี่น้อง  จังหวัดน่าน  องค์การบริหารส่วนตำบลขุนน่าน  ตลอดจนหน่วยงานราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องทุก
 ระดับ อนุสรณ์สถานแห่งนี้ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ  ในวันที่  11  ธันวาคม  2548 
                   อนุสรณ์สถานทุกแห่งย่อมมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ที่การยกย่องเชิดชูคุณงามความดีของผู้   ที่จากไปเพื่อประโยชน์สุขของผองชน  โดยส่วนรวมไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพิทักษ์รักประเทศชาติ หรือสิทธิ  เสรีภาพ  ประชาธิปไตยของปวงชนชาวไทย   เป็นเรื่องโชคดีอย่างหนึ่งที่สังคมไทยเรามีความสามารถปรับตัวเข้าหากันได้  แม้ในอดีตจะมีความขัดแย้งต่อกันแต่เราก็สามารถ  สร้างความสมานฉันท์ปรองดองกันขึ้นมาได้
    อนุสรณ์สถานภูพยัคฆ์จึงเป็นประจักษ์พยานแห่งความสมานฉันท์ปรองดอง ความร่วม  ไม้ร่วมมือกันระหว่างพี่น้องประชาชนในพื้นที่  หน่วยงานราชการต่างๆและมวลมิตรสหายที่เคยอยู่ จังหวัดน่านมาก่อน  สิ่งนี้จึงเป็นนิมิตหมายแห่งการร่วมแรงร่วมใจที่จะช่วยกันพัฒนา  สร้างสรรค์ พื้นที่ชายขอบประเทศแห่งนี้ ให้มีความสงบร่มเย็น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป        ภายในอาคารอนุสรณ์สถานภูพยัคฆ์  ประกอบด้วย

     1.บรรจุรายชื่อผู้พลีชี
     2.บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์การต่อสู้ในพื้นที
     3.บอกเล่าประวัติศาสตร์- วิถีชีวิตของพี่น้องเผ่าลัวะ  ชนชาติม้งในพื้นที่ในรูปแบบพิพิธภัณฑ
     4 .ชุมชนได้ประโยชน์จากอาคารในเรื่องการประชุม    การฝึกอบรมอาชีพ  ฝึกอบรมเกษตรกรรมทางเลือกซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องต่อยอดกันต่อไปจุดที่ตั้ง  ของอนุสรณ์สถาน มีภูมิประเทศที่สวยงาม อยู่ใกล้เคียงกับโครงการพัฒนาที่สูง ใกล้นาบันได 7  ขั้นของสำนัก  708    หรือที่ตั้งของศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในอดีต   พื้นที่แห่งนี้จะมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สูงมากแห่งหนึ่งของประเทศ  รวมถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืน
4.กิจกรรมที่ให้บริการ
        - ชมอนุสรสถาน
         - ชมแบบจำลองวิถีชีวิตคนเผ่าลัวะ
5.ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม
        - ไม่มีค่าใช้จ่าย
6.ผู้รับผิดชอบ
         - เจ้าหน้าที่อนุสรณ์สถานภูพยัคฆ์
7.บริการสาธารณะ
- โทรศัพท์สาธารณะ
-  สถานีอนามัยบ้านน้ำรีพัฒนา
8.การคมนาคม
       - โดยรถส่วนตัว
9.สภาพอากาศ

     - หนาว เย็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วันที่ 17 มีนาคม 2563  ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านสะจุก จัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบอบรม หลักสูตร โครงการส่งเสริมป...