วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

กิจกรรม/โครงการปฐนิเทศ ภาคเรียน 2/2562

                ระหว่างวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2562  นายนิมิตร หงสนันทน์  ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเฉลิมพระเกียรติ มอบให้ครู กศน.ตำบล  ครูศศช.ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการปฐนิเทศ นักศึกษา กศน. (ใหม่)  ภาคเรียน 2/2562  ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีนายนพดล แสนอินต๊ะ ครู กศน. เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมโครงการ ดังกล่าว 

 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562  ณ กศน.ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน





วันที่ 28 พฤศจิกายน 2562   ณ กศน.ตำบลห้วยโก๋น  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน






ประชุมประจำเดือน ติดตามงาน และมอบ (ร่าง) นโยบาย ประจำปีงบประมาณ

                    วันที่ 15 พฤศจิกายน  2562   นายนิมิตร หงสนันทน์  ผอ. กศน.อำเภอเฉลิมพระเกียรติ พร้อมด้วยบุคลากร ครู กศน.ตำบล ครู อาสาฯ ครู ศศช. และเจ้าหน้าที่ บรรณารักษ์ เข้าร่วมประชุมประจำเดือน พฤศจิกายน 2562 พร้อมติดตามการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการ ของ กศน.ตำบล ศศช. และห้องสมุดประชาชน ห้วง เดือน พฤศจิกายน 2562 และมอบ (ร่าง) นโยบาย ประจะปีงบประมาณ 2563 ณ ห้องประชุมภูกล้า กศน.อำเภอเฉลิมพระเกียรติ





วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ติอต่อเรา




ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเฉลิมพระเกียรติ  
หมู่ 1 ตำบลห้วยโก๋น  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน 55130 โทรศัพท์ 054-693542

ประวัติความเป็นมา


ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

          ประวัติสถานศึกษา  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานส่วนกลางที่มีสานักงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค สังกัดสานักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน เริ่มดำเนินการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๔๑ มีพื้นที่รับผิดชอบ ๒ ตำบล ๒๒ หมู่บ้าน มีบทบาทหน้าที่ในการจัด ส่งเสริมและสนับสนุนงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  คือ งานการศึกษานอกระบบระดับขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาต่อเนื่อง งานส่งเสริมการรู้หนังสือ งานโครงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง งานการศึกษาเพื่อชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.)และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้กลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไปทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะ ผู้ด้อยโอกาส และผู้พลาดโอกาสทางการศึกษา เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวนำความรู้ที่ได้รับ ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว สังคมและชุมชน ให้ดีขึ้นในระดับที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งปัจจุบันมี  นายนิมิตร หงสนันทน์ เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา

อาณาเขตติดต่อ 
          ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดน่าน  ๑๓๘ กิโลเมตร  โดยมีอาณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้
                   ทิศเหนือ           ติดกับแขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
                   ทิศใต้                ติดกับอำเภอบ่อเกลือและอำเภอปัว
                   ทิศตะวันออก     ติดกับแขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
                   ทิศตะวันตก       ติดกับอำเภอทุ่งช้าง
ข้อมูลพื้นฐาน             
          อาคารสำนักงาน                        ๑   หลัง
          อาคารห้องสมุดประชาชน             ๑   หลัง       
          ข้าราชการ                                   คน
          พนักงานราชการ                      ๑๖   คน  
          ครูอัตราจ้าง                              ๕   คน
          บรรณารักษ์อัตราจ้าง                   ๑   คน

สภาพชุมชน
            อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดน่าน ๑๓๘ กิโลเมตร เดิมขึ้นกับอำเภอทุ่งช้าง ส่วนตำบล  ขุนน่านเดิมขึ้นกับอำเภอบ่อเกลือ ต่อมาทางราชการได้รวมพื้นที่ทั้ง ๒ ตำบล เพื่อตั้งเป็นอำเภอใหม่  คือ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน เป็นกรณีพิเศษโดยไม่ผ่านการเป็นกิ่งอำเภอ ตามโครงการจัดตั้งอำเภอ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในมหามงคลวโรกาสจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี เมื่อ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ และทิศตะวันออก ติดกับแขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ ติดกับอำเภอบ่อเกลือและอำเภอปัว ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีเขตการปกครอง ๒ ตำบล ๒๒ หมู่บ้าน ดังนี้
          ตำบลห้วยโก๋น มี   หมู่บ้าน  ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านห้วยโก๋น, หมู่ที่ 2 บ้านสบปืน, หมู่ที่ 3 บ้านห้วยดง,    หมู่ที่ 4 บ้านปิน, หมู่ที่  5 บ้านปางหก, หมู่ที่ 6 บ้านใหม่ไชยธงรัตน์, หมู่ที่  7   บ้านห้วยทรายขาว
          ตำบลขุนน่าน มี ๑๕  หมู่บ้าน   ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านห้วยกานต์, หมู่ที่ 2 บ้านเปียงก่อหมู่ที่ 3 บ้านด่าน, หมู่ที่ 4 บ้านเปียงซ้อหมู่ที่ 5 บ้านนาคุ หมู่ที่  6  บ้านห้วยฟองหมู่ที่  7 บ้านสะจุกหมู่ที่  8  บ้านสะเกี้ยง, หมู่ที่  9   บ้านห้วยปูดหมู่ที่  10 บ้านกิ่วจันทร์หมู่ที่  11 บ้านน้ำช้างพัฒนาหมู่ที่  12 บ้านน้ำรีพัฒนาหมู่ที่  13  บ้านบวกหญ้าหมู่ที่  14   บ้านบวกอุ้มหมู่ที่  15 บ้านห้วยเต๋ย

รู้จักเรา


           ชื่อสถานศึกษา : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
                              : Chalem PhraKiat District Non-Formal and Informal Education Centre
          ที่อยู่              :  หมู่ที่ ๑   ตำบลห้วยโก๋น   อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
          จังหวัด           :  น่าน
          รหัสไปรษณีย์   :  ๕๕๑๓๐   
          เบอร์โทรศัพท์  :  ๐ ๕๔๖๙ ๓๕๔๑   เบอร์โทรสาร :   ๐ ๕๔๖๙  ๓๕๔๑    
          E-mail          :   PhraKiat.nfe@hotmail.com  
          Website        :  https://chalemphrakiat-nan.blogspot.com/
          สังกัด            :  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน
                            :  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 
                           :  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ   กระทรวงศึกษาธิการ

โครงสร้างหลักสูตร


สถานีพัฒนาการเกษตรพื้นที่สูงภูพยัคฆ์

สถานีพัฒนาการเกษตรพื้นที่สูงภูพยัคฆ์

2.สถานที่ตั้ง
     บ้านน้ำรีพัฒนา  หมู่  12  ตำบลขุนน่าน  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดน่าน

3.ประวัติความเป็นมา
       ความเป็นมาของโครงการ  สถานีพัฒนาการเกษตร ตามพระราชดำริ  12  มกราคม  2546  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร  พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร  บริเวณภูพยัคฆ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  ป่าดอยภูคาและป่าผาแดง  หมู่ที่  12  ตำบลขุนน่าน  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดน่าน  สภาพพื้นที่ที่ถูกราษฏรชาวเขาเผ่าลัวะ แผ้วถางทำไร่เลื่อยลอย เสียหายเป็นจำนวนมาก จึงมีพระราชดำริให้ตั้ง สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงภูพยัคฆ์  ตามพระราชดำริ ภูพยัคฆ์ มีพื้นที่รวม  10,000  ไร่  เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์  9,500  ไร่  และเพื่อพัฒนาการเกษตร  500  ไร่
       วัตถุประสงค์
   1.เพื่อสนองพระราชดำริ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
    2.เพื่อตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง  พัฒนาให้ราษฎรชาวไทยภูเขามีอาชีพการเกษตรตามหลักวิชาการแผนใหม่  ทดแทนการทำไร่เลื่อยลอย อยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงให้คนอยู่กับป่า อย่างยั่งยืน
     3.เพื่อให้ราษฎรชาวไทยภูเขามีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูพัฒนา อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่มีคุณภาพและมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ตลอดไป
    4.เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  สร้างงาน  สร้างรายได้ให้ราษฎร
    5.เพื่อเป็นสถานีตัวอย่างในการขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นที่มีลักษณะเดียวกันมีการขยายผลสู่ชุมชน  อาทิ  ทำนาขั้นบันไดปีละ  2 ครั้งมีการเพาะเห็ดหอม ปลูกผักปลอดสารพิษ  เพิ่มคุณภาพชีวิตการจ้างแรงงาน  บ้านน้ำรีพัฒนาอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า  ความมีชีวิตชีวาของลำห้วย


5.กิจกรรมที่ให้บริการ
      - จำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร เช่น เห็ดหอม  ผักปลอดสารพิษ
      - สาธิตการเพาะและขยายพันธุพืช รวมถึงการปลูกผัก
      - ให้บริการที่พักแรม
      - ให้บริการจุดชมวิว และสวนสาธิต

6.ความรู้และความชำนาญ
       -  ด้านการเพาะพันธุ์พืช
       - การสาธิตการปลูก
       - การปลูกพืชแบบขั้นบันได

7.วัน  เวลา  ที่ให้บริการ
    08.00น 17.00น  ไม่เว้นวันหยุดราชการ

8.ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม/รับบริการ
   ค่าบริการพักแรม  100-150 บาท / คน /คืน

9.ผู้รับผิดชอบ/ประสานงาน
  - เจ้าหน้าที่ประจำสถานีพัฒนาเกษตรพื้นที่สูงภูพยัคฆ์

10.การคมนาคมและการสื่อสาร
     -  รถส่วนตัว

     - โทรศัพท์สาธารณะ

ตลาดการค้าชายแดน ห้วยโก๋น – น้ำเงิน

          ตลาดการค้าชายแดน ห้วยโก๋น น้ำเงิน
2.สถานที่ตั้ง
   หมู่  1  บ้านห้วยโก๋น    ตำบลห้วยโก๋น  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดน่าน
3.ประวัติความเป็นมา
            ด่านพรมแดนห้วยโก๋น-น้ำเงินแห่งนี้  ทำพิธีเปิดเมื่อ     วันที่ 20 พฤศจิกายนพ.ศ.2537   ฝั่งไทยคือจุดบ้านห้วยโก๋น  หมู่   1  ตำบลห้วยโก๋น  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดน่าน    ฝั่งตรงข้ามคือ เมืองเงิน   แขวงไชยยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  เปิดบริการค้าขาย   ทุกวันเสาร์  ครึ่งวันเช้า     (เวลา 06.00 12.00น)      จะมีตลาดนัดมีสินค้าพื้นเมืองต่าง ๆ ให้เลือกชม
     เปิดบริการข้ามแดน เวลา 08.00น- 16.00น  ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

4.กิจกรรมที่ให้บริการ
   - การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศ
   - บริการข้ามแดน
    5. ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม / รับบริการ
         *ค่าบริการผ่านแดน       -700  บาท/รถยนต์ 1คัน
                                                - 250 บาท/รถจักรยานยนต์ 1 คัน
                                               - 90  บาท /คน
6.ผู้รับผิดชอบ / ประสานงาน
       -เจ้าหน้าที่ประจำด่านชายแดน ,ศุลกากร
7.บริการสาธารณะ
   - จุดบริการจุดตรวจตำรวจ
   - ด่านศุลกากร
   - ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ

8.การคมนาคมและการสื่อสาร
   - รถโดยสารประจำทางห้วยโก๋น ปอน
   - มอเตอร์ไซรับจ้าง
   - โทรศัพท์สาธารณะ
ประเภทสินค้าที่จำหน่ายของประเทศไทย
1.เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม
2.อาหารแห้ง
3.อาหารสด (ผัก  ผลไม้  ปลา  เนื้อ)
4.อุปกรณ์ก่อสร้าง
5.อุปกณ์ไฟฟ้า
6.อะไหล่รถยนต์  รถจักรยานนยนต์
7.อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ประเภทสินค้าที่จำหน่ายของประเทศลาว
1.สินค้าพื้นเมือง
-อาหารพื้นเมือง (สัตว์ป่า  ผัก)
-อุปกรณ์เครื่องจักสาน (กล่องข้าว   กระด้ง  เก้าอี้หวาย)

2.ผ้าทอลายโบราณ (สิบสองปันนา)

วันที่ 17 มีนาคม 2563  ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านสะจุก จัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง รูปแบบอบรม หลักสูตร โครงการส่งเสริมป...